วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

Easter

วันอีสเตอร์ คือวันระลึกถึงวันเป็นขึ้นมาจากความตาย ขององค์พระเยซูคริสต์ ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ คำว่า "อีสเตอร์ " ที่นำมาใช้สำหรับการฉลองนั้นมาจากคำว่า "EOSTRE" ซึ่งเป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งฤดูใบไม้ผลิตของพวกทูโทนิค เป็นเทพเจ้าแห่งการฟื้นคืนชีพ เพราะก่อนถึงฤดูนี้ ต้นไม้ ใบหญ้า ดอกร่วงหล่นเหลือแต่ซาก พอถึงฤดูใบไม้ผลิมันจะกลับผลิดอกออกใบมีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่ง ฉะนั้นฤดูใบไม้ผลิ จึงถูกนำมาเปรียบกับการเป็นขึ้นมาจากความตาย ของพระเยซูด้วย จึงเรียกวันนี้ว่า "อีสเตอร์"

สมัยก่อน คริสตจักรต่างๆ จัดฉลองวันอีสเตอร์ในวันอาทิตย์ที่ไม่ตรงกัน จนถึงปี ค.ศ.325 สภาไนเซียหรือสภาผู้นำคริสตจักรทั่วโลกได้ประชุม และมีมติให้กำหนดแน่นอน ให้คริสตจักรทั่วโลกฉลองเทศกาลอีสเตอร์ให้ตรงกัน โดยกำหนดวันอีสเตอร์คำนวนตามระบบจันทรคติ ทั้งนี้เนื่องจากต้องการให้การฉลองวันที่พระเยซูเป็นขึ้นมาจากความตาย ตรงกับเหตุการณ์ในครั้งแรกจริงๆ

วันอีสเตอร์ ( วันเฉลิมฉลองการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ ) คือวันไหนของปีกันแน่ ?
เนื่องจากในแต่ล่ะปี กาเฉลิมฉลองวันอีสเตอร์ของคริสเตียนนั้นจะไม่ตรงกันซึ่งแตกต่างกันกับวันคริสมาสอย่างสิ้นเชิง ซึ่งจะเฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเหตุผลที่ทำให้การเฉลิมฉลองวันอีสเตอร์ในแต่ล่ะปีไม่ตรงกันนั้น คงเป็นเหตุเพราะเนื่องจากว่า ในพระคัมภีร์ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์นั้น ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดนั่นเอง
สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์นั้น ได้เกิดขึ้น ในอาทิตย์เดียวกันกับ อาทิตย์ที่ชาวยิวจะเฉลิมฉลองปัสกา ในเดือนไนซานนั่นเอง ดังนั้นวีธีการคำนวนวันอีสเตอร์ของคริสเตียน จึงอิงกับการคำนวนวันเฉลิมฉลองเทศกาลปัสกาของชาวยิวนั่นเอง


แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า วันอีสเตอร์แต่ล่ะปี คือวันไหน??
การคำนวนง่าย ๆ คือ
1.นำปีปัจจุบัน + 1 เช่น 2005 + 1 จะเท่ากับ 2006
2.นำผลลัพธ์นั้น หารด้วย 19 จะได้เศษ 0 - 18
3. นำเศษ 0 - 18 มาเทียบกับวัน
คำว่า “อีสเตอร์” นี้ไม่มีอยู่ในพระคัมภีร์ แต่เรื่องราวความหมายและความสำคัญของคำๆนี้ ปรากฎชัดอยู่มากมายในพระคัมภีร์ คำว่า “อีสเตอร์” ที่ถูกนำมาใช้เรียก “เทศกาลเฉลิมฉลองการที่พระเยซูคริสต์ทรงเป็นขึ้นจากความตาย” นี้ได้มาจากนามของ “เทวี หรือพระแม่เจ้าแห่งฤดูใบไม้ผลิ” ของพวกแองโกล-แซกซอน ที่มีนามว่า “Eastre” เข้าใจว่าการฉลองการเป็นขึ้นมาจากความตายหรือการคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์นั้นมาเกี่ยวข้องกับฤดูใบไม้ผลิ เพราะ
1. วันอีสเตอร์ อยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (ระหว่างเดือนมีนาคม และ เมษายน)
2. ฤดูใบไม้ผลิ เป็นสัญญลักษณ์ของชีวิตใหม่ เพราะต้นไม้ใบหญ้าที่ดูเหมือนตายไปแล้วในฤดูหนาวกลับผลิใบออกดอกดุจเกิดใหม่ นับเป็นภาพที่เหมาะสมกับการพรรณนาถึงการคืนพระชนม์ของพระคริสต์
แต่ตัวเทศกาลนี้ จริงๆแล้วได้พัฒนามาจากเทศกาล “ปัสกา” (Passover) ของยิว ช่วงสุดท้ายของชีวิตพระเยซูคริสต์ก็อยู่ในช่วงเทศกาลปัสกาดังกล่าว เทศกาลปัสกา(Passover) เป็นเทศกาลที่ชาวยิวระลึกถึงการที่พระเจ้าทรงนำพวกเขาออกมาจากการเป็นทาสในอียิปต์ เมื่อฟาโรห์ปฏิเสธที่จะปล่อยชาวอิสราเอล พระเจ้าให้ทูตมรณะเข้าไปในครัวเรือนของอียิปต์และปลิดชีพบุตรหัวปียกเว้นบ้านของชาวยิวที่นำโลหิตของแกะมาทาที่ประตูบ้านทูตมรณะจะผ่านเว้นไป
ดั้งเดิมแล้ว วันอีสเตอร์ ได้ถือปฏิบัติกันในวันปัสกา (วันที่ 14 เดือนนิสาน) จนกระทั่งในกลางศตวรรษที่ 2 คริสเตียนบางกลุ่มเริ่มเฉลิมฉลองวันอีสเตอร์นั้น ในวันอาทิตย์หลังจากวันที่ 14 เดือนนิสาน โดยถือเอาวันศุกร์ก่อนหน้าเป็นวันที่พระเยซูคริสต์ถูกตรึงสิ้นพระชนม์ สุดท้ายก็เกิดการโต้เถียงในเรื่องวันที่ถูกต้องในการฉลองอีสเตอร์
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 197 วิคเตอร์ แห่งโรม ได้บีบพวกคริสเตียนที่ยังยืนกรานที่จะฉลองอีสเตอร์ในวันที่ 14 เดือนนิสาน ให้ออกไปจากหมู่คณะ แต่การถกเถียงยังคงดำเนินอยู่ต่อไป จนกระทั่งมาถึงต้นศตวรรษที่ 4 จักรพรรดิ คอนสแตนติน ทรงบัญชาให้ถือรักษาวันอีสเตอร์เป็นวันอาทิตย์ หลังวันที่ 14 เดือนนิสาน แทนการฉลองในวันที่ 14 เดือนนิสานเหมือนที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม

ด้วยเหตุนี้เอง วันอีสเตอร์จึงได้รับการเฉลิมฉลองในวันอาทิตย์แรกหลังจากคืนวันเพ็ญแรก ที่ตามหลังวัน “วสันตวิษุสวัต” (Vernal equinox) ซึ่งเป็น “วันที่กลางวันเท่ากับกลางคืน” ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม พูดง่ายๆก็คือจากวันนี้มาจนถึงวันนี้ วันอีสเตอร์จะต้องมาหลังจากวันที่ 21 มีนาคมของทุกปีซึ่ง ต่อมาในปี คศ.320 คริสตศาสนจักรได้ประกาศให้วันของอีสเตอร์ คือวันอาทิตย์แรกหลังวันเพ็ญใกล้ฤดูใบไม้ผลิ (ต่อมาเป็นวันที่ 21 มีค.) ซึ่งจะตรงกับวันอาทิตย์ใกล้วันปัสกา (วันที่14 เดือนนิสาน) ซึ่งจะอยู่ช่วงระหว่างวันที่ 21 มีค.-25 เมย.ของทุกปี
จึงสรุปได้ว่า เมื่อตอนเริ่มแรกนั้น อีสเตอร์ เป็นงานเลี้ยงเฉลิมฉลองที่ผูกพันใกล้ชิดกับวันปัสกา ซึ่งเตือนให้ระลึกถึงเหตุการณ์ที่พระเจ้าทรงนำชาวอิสราเอล ให้อพยพรอดออกมาจากการเป็นทาสในอียิปต์ และเหตุการณ์ที่พระเยซูคริสต์ทรงถูกตรึงตายไถ่ผู้ศรัทธาในพระองค์ให้รอดพ้นจากโทษบาป จนกระทั่งในศตวรรษที่ 4 อีสเตอร์ จึงแยกออกมาเป็นการเฉลิงฉลองเพื่อระลึกถึง “การเป็นขึ้นมาจากความตายของพระเยซูคริสต์” หลังจากที่พระองค์ทรงถูกตรึงบนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาปของมนุษย์และการฉลองนี้จะอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่เคยเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองฤดูใบไม้ผลิของชาวยุโรป

สัญลักษณ์ของวันอีสเตอร์
สัญลักษณ์ของวันอีสเตอร์ นั้นได้แก่สิ่งที่สื่อถึงความสุข สมหวัง ชัยชนะ ความอบอุ่น ความสดใส

ไข่ สื่อถึงชีวิตใหม่ ไข่ ถือเป็นสัญลักษณ์ของการบังเกิดใหม่หรือมีชีวิตใหม่ กางเขนและอุโมงค์ที่ว่างเปล่า เป็นสัญลักษณ์ของการเป็นขึ้นมาจากความตายของพระเยซูคริสต์ มีคนกล่าวว่าคริสเตียนแท้มักจะดำเนินชีวิตโดยยึดหลักการที่ว่า พระเยซูคริสต์ได้สิ้นพระชนม์ในวันศุกร์ประเสริฐเพื่อเราเมื่อวานนี้ และทรงเป็นขึ้นมาจากความตายในวันอาทิตย์อีสเตอร์ และทรงสถิตอยู่กับเราในวันนี้ และพระองค์จะทรงเสด็จกลับมารับเรา (ผู้เชื่อ) ในวันพรุ่งนี้

ผีเสื้อ สื่อถึงชีวิตใหม่ เหมือนผีเสื้อที่ออกมาจากดักแด้และบินสู่ท้องฟ้าเช่นเดียวกับ พระเยซูคริสต์ที่สิ้นพระชนม์ และอยู่ในอุโมงค์ หลังจากนั้น 3 วัน จึงฟื้นคืนพระชนม์

กระต่าย สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ เป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิ

สวนดอกไม้ สื่อความหมายถึง ความสุขสมหวัง ดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของวันอีสเตอร์ คือดอกลิลี่ หรือดอกพลับพลึงขาวบริสุทธิ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น