วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แม่ชีเทเรซา


แม่ชีเทเรซา (26 สิงหาคม พ.ศ. 2453 – 5 กันยายน พ.ศ. 2540) เป็นแม่ชีในศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้นำและผู้ต่อสู้เพื่อคนยากไร้ทั้งในประเทศที่ยากจนและร่ำรวย จนเมื่อปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ท่านจึงได้รับเกียรติให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และหลังจากที่ท่านถึงแก่กรรม สำนักวาติกัน โดย สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ได้ประกาศให้ท่านเป็น "นักบุญราศี" ซึ่งเป็นขั้นเริ่มต้นของการเป็นนักบุญ ผ่านพิธีบุญราศีในนามว่า "นักบุญราศีเทเรซาแห่งกัลกัตตา"

ประวัติวัยเยาว์
เเม่ชีเทเรซา เป็นธิดาของนายนิโคล บอญักซุย (NiKolle Bojaxhui) กับนาง ดรานา เบอร์ไน (Drana Bernai) จากเชื้อสายชาวอิตาเลียน เป็นครอบครัวชนชั้นกลาง คุณแม่เทเรซาเกิดวันที่ 26 สิงหาคม 1910 ได้รับพิธีรับศีลล้างบาป (Baptized) ณ วัดดวงพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า ที่เมือง สคอปเจ (Skopje) เมืองหลวงของสาธารณรัฐอัลบาเนียนแห่งมาเซโดเนีย ในวันที่ 27 สิงหาคม 1910 และได้รับนามว่า กอนซา (Gonxha) หรือ อักแนส (Agnes) อักแนสเป็นลูกคนที่สามและคนสุดท้อง มีพี่สาวคนโตชื่ออาก้า (Aga) พี่ชายชื่อ ลาซาร์ (Lazar)


เธอมีชื่อเดิมว่า "แอ็กเนส กอนจา โบยาจู" (Agnes Gonxha Bojaxhiu) มีบิดาเป็นชาวคริสต์ที่เคร่งครัดในหลักศาสนา ซึ่งทำให้ตั้งแต่วัยเด็กแอ็กเนสชอบไปโบสถ์ฟังหลวงพ่อเทศน์มาโดยตลอด เเละขณะแอ็กเนสมีอายุ 9 ปี ในปี พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) บิดาของเธอได้เสียชีวิตลง แต่ความอบอุ่นภายในครอบครัวที่แอ็กเนสได้รับก็ไม่ได้ลดลง ด้วยเพราะมารดายังให้ความรักความอบอุ่นและการเลี้ยงดูที่ดีมาตลอด แอ็กเนสเติบโตขึ้นเป็นเด็กร่าเริง และมีสุขภาพดี และไม่นานต่อมาเธอก็ได้รู้จักกับประเทศอินเดีย แต่ก็ได้รู้ว่าอินเดียในขณะนั้นมีระบบสาธารณูปโภคที่ยังล้าหลังอยู่มาก มีคนยากไร้มากมายในประเทศที่ต้องทนทรมาน และเริ่มสงสัยว่า จะมีวิธีใดบ้างไหมที่เธอจะได้ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากในอินเดีย ซึ่งในช่วงเวลานี้นี่เองที่แอ็กเนสเริ่มมีความคิดที่จะบวชเป็นแม่ชี
ความสนใจของอักแนสในดินแดนธรรมทูต ได้รับการยืนยันจากเสียงเรียกชัดเจนให้เข้าสู่ชีวิตนักบวช ในขณะที่เธอกำลังสวดภาวนาอยู่หน้าพระแท่นรูปพระแม่มารีย์องค์อุปถัมภ์แห่งสคอปเจ (Patroness of Skopje) "พระแม่สวดภาวนาเพื่อดิฉัน และช่วยดิฉันให้ค้นพบ พระกระแสเรียกของตนเอง" ด้วยคำแนะนำและความช่วยเหลือของพระสงฆ์คณะเยสุอิต ชาวยูโกสลาเวียผู้หนึ่ง เธอจึงได้ขอสมัครเข้าคณะซิสเตอร์แม่พระแห่งลอเร็ตโต (ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าซิสเตอร์ไอริช) เธอถูกดึงดูดจากการทำงานธรรมทูตของซิสเตอร์เหล่านี้ในประเทศอินเดีย
พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) แอ็กเนสตัดสินใจขออนุญาตครอบครัวเพื่อขอบวชเป็นแม่ชี ตอนแรกครอบครัวคัดค้าน แต่ต่อมาไม่กี่วันทางครอบครัวก็ยอมให้เธอบวช แอ็กเนสเดินทางไปบวชที่สำนักชีโลเรโต (Sisters of Loreto) ในกรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งการลาจากจากครอบครัวของเธอในครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่เธอจะได้เห็นหน้าของแม่และน้องสาว [4] แอ็กเนสตั้งใจศึกษาเล่าเรียนวิชาที่แม่ชีพึงได้เรียนเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากนั้นจึงเดินทางไปยังประเทศอินเดียในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน และได้เริ่มออกเผนแผ่คำสอนในเมืองทาร์จีลิง รัฐสิขิม ทางเหนือของประเทศอินเดีย โดยเธอได้พักอยู่ที่สำนักชีโลเรโตที่ตั้งอยู่ที่เมืองทาร์จีลิง
พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) แอ็กเนสตัดสินใจเข้าสาบานตนเป็นแม่ชีในสำนักชีโลเรโต ในเมืองดาร์ลีจิงเป็นครั้งแรก และตอนนี้เองที่แอ็กเนสได้รับสมญาทางศาสนา(ชื่อทางศาสนา) ว่า แม่ชีเทเรซา และได้สาบานตนครั้งสุดท้ายใน พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937)
หลังจากสาบานตนเป็นแม่ชีครั้งสุดท้ายแล้ว แม่ชีเทเรซาได้เข้าเป็นครูวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ในโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรีย ในเมืองเอนทาลี นครกัลกัตตา ไม่นาน ก็ได้เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรีย พาตนเองและเหล่านักเรียนผ่านเหตุการณ์เลวร้าย ที่เกิดจากผลกระทบของเหตุการณ์รุนแรงและสงครามที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในอินเดียมาได้ด้วยดี
หลังจากเป็นนวกเณรีได้ 2 ปี อักแนสก็ปฏิญาณตัวครั้งแรก (First vows) เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 1931 เป็นซิสเตอร์ในคณะซิสเตอร์พระแม่แห่งลอเร็ตโต และเปลี่ยนชื่อจาก อักแนส เป็น เทเรซาแห่งลิซิเออ


ภารกิจการกุศล
คุณแม่เทเรซาออกจากกัลกัตตา เพื่อไปรับการอบรมหลักสูตรเร่งรัดเรื่องการพยาบาลพื้นฐานเป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นก็ลงมือปฏิบัติสิ่งที่เธอปรารถนาคือ อุทิศตนรับใช้คน ยากจนที่สุดในบรรดาคนยากจนทั้งหลาย ตามชุมชนแออัดในเมืองกัลกัตตา ในปีนั้นเองที่เธอยื่นขอและได้รับสิทธิเป็นพลเมืองอินเดีย ซึ่งเธอจะคงไว้จนตลอดชีวิตของเธอ พระสันตะปาปา เปาโลที่ 6 (Pope Paolo VI) ทรงมอบสิทธิเป็นพลเมืองวาติกันให้คุณแม่เทเรซาด้วยในช่วงปลายปี ค.ศ.1970 เพื่อช่วยให้การเดินทางทำงานธรรมทูตของคุณแม่สะดวกขึ้น
วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ขณะที่แม่ชีเทเรซากำลังนั่งรถไฟกลับไปยังสำนักชีที่ทาร์จีลิง ระหว่างทางเธอก็ได้ยินพระวจนะของพระเจ้า ซึ่งเนื้อหาที่พระเจ้าพูดกับแม่ชีเทเรซาในขณะนั้น ทำให้แม่ชีเทเรซาตัดสินใจขออนุญาตไปทำงานในสลัม เพื่อช่วยเหลือคนยากจน แต่การทำแบบนั้นถ้าหากทำโดยไม่ได้รับการอนุญาตเป็นพิเศษจะถือว่ามีความผิดทางศาสนา แม่ชีเทเรซาจึงขอให้บาทหลวงใหญ่ (หัวหน้าบาทหลวง ในชุมชนหนึ่งๆ ซึ่งอาจอยู่ตั้งแต่ระดับเมือง ภูมิภาค หรือประเทศ จะมีเพียงหนึ่งท่าน) ขอร้องไปยังพระสันตะปาปา ให้อนุญาตแม่ชีเทเรซาเป็นกรณีพิเศษ
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) แม่ชีเทเรซาได้รับอนุญาตเป็นพิเศษให้ไปทำงานในสลัมได้ แต่ก่อนนั้นต้องให้มีความรู้เพียงพอเสียก่อน ซึ่งเธอก็ได้เดินทางไปศึกษาวิชาพยายาลที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองปัตนา รัฐพิหาร เมื่อศึกษาจบแม่ชีเทเรซาก็ได้ก่อตั้งโรงเรียนกลางแจ้งในสลัม มีเด็กๆ ให้ความสนใจมาเรียนกันมามากมาย หลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มมีศิษย์เก่าจากโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรียมาขอบวชเป็นผู้ช่วยแม่ชีเทเรซา โดยคนแรกที่มาขอบวช คือ "สวาชินี ดาส" เมื่อบวชแล้วได้รับสมญาทางศาสนาว่า "แม่ชีแอ็กเนส" และไม่นานก็มีศิษย์เก่ามาบวชเพิ่มอีกถึง 10 คน
วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) บาทหลวงใหญ่ได้ตั้งกลุ่มของแม่ชีเทเรซาให้เป็นองค์กรอิสระทางศาสนา มีชื่อว่า "คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า" (Missionaries of Charity) โดยแม่ชีเทเรซาได้เป็นหัวหน้าองค์กร ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาผู้คนส่วนใหญ่มักเรียกแม่ชีเทเรซาว่า คุณแม่เทเรซา (Mother Teresa)
วันหนึ่งแม่ชีเทเรซาได้คิดที่จะสร้างบ้านหลังหนึ่ง เพื่อให้ผู้หิวโหยที่นอนรอความตายอยู่ข้างถนนนั้นได้มานอนตายอย่างสงบ และด้วยเหตุนี้ท่านจึงขอยืมให้วัดกาลีของศาสนาฮินดูใช้เป็น "บ้านของผู้รอความตาย" (Home for the Dying) โดยเริ่มเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) แต่ชาวฮินดูพอสมควรที่ไม่เห็นด้วยกับการที่คุณแม่เทเรซาซึ่งเป็นชาวคริสต์ จะมาใช้วัดของชาวฮินดูเป็นสถานที่ แต่เมื่อผู้บัญชาการตำรวจเข้าไปคุยกับคุณแม่เทเรซา ก็ได้ผลสรุปว่าคุณแม่เทเรซายังใช้สถานที่วัดกาลีอยู่ได้ต่อ
พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) มีผู้ใจบุญบริจาคบ้านให้แก่คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า เพื่อให้ทางคณะฯ ได้ใช้งานบ้านให้เป็นประโยชน์ต่อคุณแม่เทเรซาและส่วนรวม คุณแม่เทเรซาได้ตัดสินใจใช้บ้านหลังนี้ในการรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ตั้งชื่อว่า "บ้านเด็กใจบุญ" (Children's Home of the Immaculate Heart) [5]
พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) คุณแม่เทเรซาเริ่มใช้รถพยาบาลเคลื่อนที่ออกรักษาผู้ป่วยที่เป็นชาวไร่ชาวนา โดยโรคที่ชาวไร่ชาวนาป่วยมากที่สุดคือ โรคเรื้อน แต่ในช่วงนั้นสังคมอินเดียยังมองเห็นผู้ป่วยโรคเรื้อนเป็นสิ่งน่ารังเกียจ ผู้ป่วยโรคเรื้อนจึงคิดว่าคนเองไม่มีค่า คุณแม่เทเรซาจึงเริ่มคิดถึงปัญหานี้
พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) ที่ทำการของแม่ชีเทเรซาที่อยู่นอกประเทศอินเดียเริ่มเปิดทำการ มีทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลียไม่กี่ปีต่อมา ผู้ว่าการรัฐเบงกอลตะวันตกได้ให้คุณแม่เทเรซายืมใช้แปลงที่ดินที่เมืองอาซันซอลขนาด 140,000 ตารางเมตร (ประมาณ 87.5 ไร่) เพื่อให้ใช้เป็นสถานสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคเรื้อน คุณแม่เทเรซาได้แบ่งสรรที่ดินไว้อย่างลงตัว แต่ไม่มีเงินจะสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ได้ออกแบบไว้ คุณแม่เทเรซานั่งครุ่นคิดอยู่สักพักก็นึกขึ้นได้ว่าพระสันตะปาปาเคยมอบรถยนต์เปิดประทุนสีขาวบริสุทธิ์ชั้นดี ถ้าขายเฉยๆ จะได้ราคา 100,000 รูปี (ประมาณ 400,000 บาท) แต่นั่นยังไม่เพียงพอ คุณแม่เทเรซาตัดสินใจทำสลาก โดยเอารถคันนั้นเป็นรางวัล ทำสลาก 5,000 ใบ ขายสลากใบละ 100 รูปี (ประมาณ 400 บาท) ใครถูกรางวัลจะได้รับรถพระสันตะปาปาไป การขายสลากแบบนี้ คณะมิชชันนารีของคุณแม่เทเรซา ได้รับเงินถึง 500,000 รูปี (ประมาณ 2,000,000 บาท) ในที่สุดคณะมิชชันนารีของคุณแม่เทเรซาก็ได้สร้างที่ดินขนาดกว่า 80 ไร่ ให้เป็นหมู่บ้านในฝันของผู้ป่วยโรคเรื้อนได้สำเร็จใน พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) ตั้งชื่อว่า "หมู่บ้านสันติสุข" มีทั้งโรงพยาบาลและที่อยู่ทั้งสำหรับเหล่าแม่ชีและเหล่าผู้ป่วย มีผู้ป่วยโรคเรื้อนขอเข้ารับการรักษาที่หมู่บ้านสันติสุขนี้มากกว่า 15,000 คน


ไม่นานหลังจากนั้น แม่ชีเทเรซา ก็เปิดที่ทำการอีกแห่งหนึ่ง คราวนี้เป็นการนำกาบมะพร้าวมีรีไซเคิล โดยนำใยมะพร้าวด้านในมาผลิตเป็นสินค้า ตั้งแต่แปรงขัดหม้อ จนถึงพรมนุ่มๆ สินค้าบางชิ้นมีคุณภาพดี ก็สามารถนำไปขายในเมืองไดhไม่นานต่อมา คุณแม่เทเรซาเมื่อรู้ว่า สายการบินต่างๆ จะจัดการอาหารที่ผู้โดยสารกินเหลือโดยการทิ้งทั้งหมด จึงไปขอให้บริษัทสายการบินแอร์อินเดีย มอบอาหารที่ผู้โดยสารกินเหลือมาเป็นอาหารแก่เด็กๆ ใน บ้านเด็กใจบุญ
พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) คุณแม่เทเรซาได้รับเกียรติให้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในฐานะ "สำหรับการอาสาต่อสู้เพื่อลดความยากจนทุกข์ยากซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการนำไปสู่ความสงบสุขและสันติ" (for work undertaken in the struggle to overcome poverty and distress, which also constitute a threat to peace.) นอกจากนี้ คุณแม่เทเรซาปฏิเสธงานเลี้ยงฉลองที่ท่านได้รับรางวัลโนเบล และขอใหผู้ที่ทำเค้กฉลองมาแล้ว นำเค้กไปมอบให้คนยากคนจน
คุณแม่เดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ซึ่งก็ได้ตระเวนปราศรัยไปตามที่ต่างๆ ในประเทศ เนื้อหาส่วนใหญ่คือ ความเหลื่อมล้ำในสังคม การรังเกียจคนจรจัด การกลั่นแกล้งประทุษร้ายกันในญี่ปุ่นพ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) อิสราเอลมีสงครามกับองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ จนเกิดการสู้รบรุนแรงในแถบเอเชียตะวันตก คุณแม่เทเรซาก็เดินทางเข้าไปเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ที่ติดค้างในสถานที่ต่างๆ มาได้ 37 คน


ปั้นปลายชีวิต
พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) ขณะคุณแม่เทเรซาไปเยี่ยมสถานสงเคราะห์แห่งหนึ่งในอิตาลี ทานก็เริ่มป่วยเป็นโรคหัวใจ และมีอาการกำเริบครั้งแรก โดยมีหัวใจเต้นอ่อนเกินไป แต่ปลอดภัย หลังจากนั้น คุณแม่เทเรซาก็ทำงานอยู่เหมือนปกติ แต่อาการโรคหัวใจก็มาเยือนอยู่เรื่อยๆ จนในที่สุด คุณแม่เทเรซา ได้ยื่นจดหมายต่อพระสันตะปาปา ว่า ขอลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าคณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า พร้อมกับอยากให้มีการเลือกตั้งขึ้นเพื่อเลือกผู้ที่จะมาสืบทอดตำแหน่งจากตน ตอนแรกเหล่าแม่ชีต่างคัดค้าน แต่เมื่อรู้ว่าคุณแม่เทเรซาจะให้จัดการเลือกตั้งผู้สืบทอดตำแหน่ง จึงเทคะแนนเสียงให้คุณแม่เทเรซา แล้วผลการเลือกตั้งก็คือ คุณแม่เทเรซาก็ได้รับเลือกตั้งกลับมาเป็นหัวหน้าคณะฯ อีกครั้ง
การทำงานของท่านก็มีอาการโรคหัวใจกำเริบมารบกวนท่านบ่อยขึ้น อาการป่วยในระดับหนักมากเกิดขึ้นกับแม่ชีเทเรซาอีกใน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) และอีกครั้งใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) หลังจากนั้น คุณแม่เทเรซา ก็ป่วยหนักถึงขนาดล้มหมอนนอนเสื่อ ลุกนั่งไม่ได้
คุณแม่เทเรซาป่วยเป็นโรคหัวใจ และต้องเข้าโรงพยาบาลถึง 2 ครั้ง มิใช่เป็นครั้งแรกที่คุณแม่เทเรซาตรากตรำทำงานหนักจนถึงขั้นหมดเรี่ยวแรง และต้องถูกส่งโรงพยาบาล แม้สมเด็จพระสันตะปาปา ก็ยังทรงขอร้องคุณแม่ให้ดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตัวเธอเองบ้าง แพทย์คอยตรวจสอบเธอเป็นระยะ ๆ แล้วยังสั่งให้คุณแม่พักรักษาตัวเป็นเวลา 6 เดือนในวันที่ 16 เมษายน 1990 คุณแม่เทเรซาลาออกจากตำแหน่งคุณแม่มหาธิการิณีของคณะธรรมทูตแห่งเมตตาธรรม เนื่องจากสุขภาพไม่ดี เมื่อผ่อนคลายจากภาระรับผิดชอบต่าง ๆ แล้ว คุณแม่เทเรซาก็สามารถเดินทางไปเยี่ยมบ้านซิสเตอร์ของคณะในที่ต่าง ๆ ได้มากขึ้น
เดือนกันยายน 1990 คุณแม่เทเรซาได้รับการเรียกร้องให้พักจากการเกษียณและได้รับเลือกเป็นมหาธิการิณีของคณะธรรมทูตแห่งเมตตาธรรมอีกครั้ง เนื่องจากบรรดาซิสเตอร์ทราบเป็นอย่างดีถึงอัจฉริยภาพความเป็นผู้นำฝ่ายจิตของคุณแม่เทเรซาในคณะซิสเตอร์ ธรรมทูตแห่งเมตตาธรรม จึงได้เลือกคุณแม่เป็นผู้นำอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าคุณแม่จะมีอายุ 80 ปีและสุขภาพไม่สู้ดีนักก็ตามในปี 1997 คุณแม่เทเรซา ได้ลาออกจากผู้นำคณะ เนื่องจากเจ็บป่วยมาก ในวันที่ 13 มีนาคม ซิสเตอร์นิรุมารา ได้รับเลือกเป็นผู้นำคณะคนใหม่
วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) คุณแม่เทเรซาได้เสียชีวิตลงที่บ้านของคุณแม่ในอินเดีย ขณะอายุ 87 ปี กับอีก 10 วัน โดยคำพูดคำสุดท้ายที่คุณแม่ได้พูดออกมาคือ "หายใจไม่ออกแล้ว" [6] ทางการอินเดียได้จัดพิธีศพของคุณแม่เทเรซาอย่างยิ่งใหญ่ เป็นงานศพระดับชาติ (งานศพของบุคคลที่ทุ่มเทอุทิศตนเพื่อประเทศนั้นๆ) ของทางการอินเดีย
ในช่วงเวลาที่คุณแม่เสียชีวิต คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้ามีแม่ชีมากว่า 4,000 คนและอาสาสมัครกว่าอีก 1 แสนคน ซึ่งอัตรานี้ครอบคลุมไปถึงกว่า 610 แห่ง 123 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบันร่างของแม่ชีนอนหลับอยู่ที่บ้านคุณแม่ในอินเดีย เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ได้ประกาศให้คุณแม่เป็น นักบุญราศี

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ตำนานไข่อีสเตอร์

ในวันที่ 8 เมษายนที่จะถึงนี้จะเป็นวันเริ่มแรกของ เทศกาลอีสเตอร์ และนับเนื่องต่อไปจนครบเดือน ชาวคริสต์ทั้งหลายจะให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้กันอย่างมาก นอกจากจะมีประเพณีต่างๆ ที่สืบทอดต่อๆ กันมาแล้ว ชาวยุโรปจะถือว่าหลังพ้นฤดูหนาวอันน่าเบื่อหน่ายแล้ว ก็จะได้เริ่มต้นรับฤดูใบไม้ผลิอันสดใสด้วยการท่องเที่ยวกันอย่างสนุกสนาน

ชาวคริสต์เชื่อกันว่า วัน EASTER คือวันกลับฟื้นคืนชีพของพระเยซู และถือกันว่า “ไข่” เป็นอาหารที่สามารถบริโภคได้เช่นเดียวกับนมและเนย ซึ่งไข่เป็นผลิตผลที่ได้จากสัตว์ โดยไม่ต้องทำการฆ่าให้เลือดตกยางออก และชาวคริสต์ในนิกาย ออร์โธดอกซ์ ถือเป็นประเพณีที่จะให้ไข่ทาสีแดงแก่เพื่อนสนิทในช่วงเทศกาลอีสเตอร์

ซึ่งประเพณีนี้เริ่มจาก Mary Magdalene สตรีผู้มีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่คริสตกาล ภาพหลังจากที่พระเยซูคริสต์เสด็จสู่สวรรค์ โดยที่นางได้เดินทางไปยังกรุงโรมและตะโกนร้องต่อหน้าองค์จักรพรรดิว่า “พระคริสต์ทรงฟื้นแล้ว” และได้มีการมอบไข่ทาสีแดงให้กับองค์จักรพรรดิด้วย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ไข่จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ของเทศกาลนี้

ไข่สีแดงยังเป็นสัญลักษณ์ของหลุมฝังศพและชีวิตใหม่ โดยตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณชาวอียิปต์และชาวกรีกจะฝังไข่ลงไปในหลุมฝังศพ ชาวโรมันก็กล่าวว่า “ชีวิตทั้งปวงมาจากไข่” ซึ่งชาวคริสต์ก็น่าจะได้รับความเชื่อนี้ตกทอดมาจากคนโบราณเช่นกัน

เมื่อตอกเปลือกไข่ให้แตกออก สีแดงคือสีของโลหิตแห่งพระคริสต์ผู้ไถ่บาปให้แก่ชาวโลก และฟองไข่หมายถึงชีวิตใหม่ภายหลังการคืนชีพของพระองค์ ในช่วงถือศีลไข่เป็นอาหารต้องห้าม แต่เมื่อพ้นวาระดังกล่าว ไข่ที่ต้มสุกก็หมายถึงการถนอมอาหารไม่ให้สูญเปล่า ซึ่งชาวสเปนก็ได้ปรุงอาหารชื่อ Hornazo ขึ้น เพื่อบริโภคในช่วงเทศกาลนี้ ที่ตกแต่งด้วยไข่ต้มเป็นสาระสำคัญ

ส่วนทางตอนเหนือของอังกฤษก็มีการต้มไข่แล้วนำมาเป็นการเล่นชนิดหนึ่ง โดยใช้ไข่ต้มสุกมาชนไข่ของผู้อื่นให้แตก หากไข่ของใครที่ยังคงรูปเดิมอยู่ถือเป็นผู้ชนะ หรือไม่ก็มีการกลิ้งไข่ต้มสุกลงจากเนินเขา ไข่ของใครกลิ้งไปได้ไกลที่สุดจะเป็นผู้ชนะ เหล่านี้คือการเล่นที่ใช้ไข่ต้มสุกมาเป็นอุปกรณ์ เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลดังกล่าวนี้

ในช่วงของฤดูหนาวที่เพิ่งผ่านพ้นไปคือ ฤดูแห่งการถือบวชในศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นฤดูที่เคร่งครัดและจำกัดในเรื่องของอาหารการกิน เทศกาลอีสเตอร์ซึ่งเริ่มขึ้นในฤดูใบไม้ผลิคือสิ่งที่สร้างชีวิตชีวาให้สดใส จึงต้องมีการปรุงอาหารมื้อพิเศษเพื่อต้อนรับเทศกาลนี้ โดยในวันเริ่มต้นของเทศกาลนี้ จะมีประเพณีที่ทุกครอบครัวจะมากินอาหารร่วมกัน ซึ่งอาหารที่นิยมทำต้อนรับเทศกาลนี้ อาทิ

Boiled Eggs ไข่ต้มจะถูกเสิร์ฟเป็นอาหารเช้า โดยเรียงมาอย่างสวยงามในตะกร้าสาน และมีการให้การ์ดและของขวัญต่อกัน

Roast Lamb แกะอบ ซึ่งถือว่าเป็นอาหารจานสำคัญของเทศกาล จะถูกเสิร์ฟพร้อมกับมินท์ซอสและผักต่างๆ

Simnel Cake เป็นขนมที่นิยมกันในอังกฤษและไอร์แลนด์ ที่นิยมบริโภคในช่วงเทศกาลนี้พร้อมกับน้ำชา เป็นเค้กผลไม้หรือฟรุตเค้กคล้ายกับที่ทำขึ้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาส หากแต่จะมีการตกแต่งด้วย marzipan ซึ่งทำจากอัลมอนด์เป็นก้อนกลม มาเรียงรายรอบบนหน้าเค้ก 11 ก้อน อันหมายถึงอัครสาวกทั้ง 11 องค์ (ไม่รวม Judas ศิษย์ทรยศ)

Easter Biscuits หรือจะเรียกว่า “เค้ก” ก็ย่อมได้ ทำขึ้นสำหรับรับประทานในวันแรกของเทศกาลซึ่งเป็นวันอาทิตย์ เค้กนี้จะใส่เครื่องเทศ ลูกองุ่น และผลไม้แห้ง และผิวส้มขูด

ส่วนของขวัญที่มอบให้กันนั้น เดิมทีเป็นการนำไข่นกมาต้มและทาสีเปลือกให้มีสีสันที่สดใสให้เห็นถึงความหมายของแสงอาทิตย์ที่สดใสในฤดูใบไม้ผลิ แต่ในเวลาต่อมาก็เป็นการมอบไข่ที่ทำจากช็อกโกแลต หุ้มด้วยกระดาษตะกั่วอาบสีต่างๆ บ้าง หรือมิฉะนั้น ก็เป็นถั่วเคลือบน้ำตาลสี และบางครั้งก็ทำเป็นรูปตัวกระต่าย อันเป็นสัตว์ที่นิยมวาดกันในสมัยวิกตอเรียนบนการ์ด ก่อนที่ภาพหลังจะมีการสร้างด้วยวัสดุอื่นที่กินได้

ในประเทศรัสเซียเมื่อครั้งยังปกครองโดยพระมหากษัตริย์ เจ้านายในราชวงศ์ โรมานอฟต่างนิยมสั่งช่างทอง Faberge ให้ทำไข่จากทองคำและโลหะมีค่า ประดับด้วยอัญมณีสีต่างๆ หรือมิฉะนั้น ก็ใช้วิธีประดับด้วยการลงยาเป็นสีต่างๆ โดยเฉพาะ สีชมพูเข้ม

พระเจ้าซาร์ นิโคลัส ที่ II คือกษัตริย์ที่โปรดปรานไข่ทองลงยาฝีมือของ Faberge ที่สุด ทรงโปรดให้ทำขึ้นเพื่อพระราชทานให้แก่พระมเหสี และพระประยูรญาติสตรีหลายพระองค์ เป็นสมบัติที่ตกทอดไปทั่วยุโรป และเป็นศิลปวัตถุที่มีมูลค่ามหาศาล เป็นที่ต้องการของนักนิยมของเก่าเป็นอย่างมาก มีการนำออกประมูลโดยตัวแทนที่มีชื่อเสียงบ่อยครั้ง

นักวิชาการทางด้านศาสนาได้ยอมรับต้นตอที่มาของคำว่าอีสเตอร์ซึ่งศึกษาโดยนักวิชาการทางด้านศาสนาชาวอังกฤษอังกฤษในศตวรรษที่8 ที่ชื่อว่าเซนต์ เบเด(St.Bede) ซึ่งเชื่อว่า ชื่อ"Easter" นั้นมาจากภาษาสแกนดิเนเวียนว่า"OSTRA" และในภาษาทิวโทนิค(ภาษาพื้นเมืองสแกนดิเนวีย)ว่า"Ostern" หรือ "Eastre" ซึ่งเป็นชื่อของเทพธิดาแห่งเทพปกรณัมผู้ที่นำฤดูใบไม้ผลิและการเจริญพันธุ์และยังเป็นผู้ที่ถูกสักการะและเฉลิมฉลองในวันที่เรียกว่าVernal Equinox(วันในฤดูใบไม้ผลิที่มีกลางวันและกลางคืนเท่าๆกันพอดี)




วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ลิง กับ ลา

ลิงกับลา
หญิงชาวบ้านคนหนึ่งอาศัยอยู่คนเดียวในกระท่อม ด้วยความเหงานางจึงหาสัตว์มาเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนสองตัว คือ ลิงและลา วันหนึ่งหญิงชาวบ้านคนนี้ต้องออกไปตลาดเพื่อซื้ออาหาร ก่อนออกจากบ้านเธอได้เอาเชือกมาผูกคอลิง แล้วมัดขาของลาเอาไว้ทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงทั้งสองตัวเดินย่ำไปมาในกระท่อมจนทำให้ข้าวของต่างๆ ได้รับความเสียหาย ทันทีที่หญิงชาวบ้านออกจากบ้านไป ลิงซึ่งมีความฉลาดและแสนซนเป็นคุณลักษณะประจำตัวก็ค่อย ๆ คลายปมเชือกออกจากคอของมัน อีกทั้งยังซุกซนไปแก้เชือกมัดขาให้แก่ลาอีกด้วย
หลังจากนั้นเจ้าลิงก็กระโดดโลดเต้น ห้อยโหนโจนทะยานไปทั่วกระท่อมจนทำให้ข้าว ของต่างๆ ล้มระเนระนาดกระจัดกระจายไปทั่ว อีกทั้งยังซุกซนรื้อค้นเสื้อผ้าของหญิงชาวบ้านมาฉีกกัดจนไม่เหลือชิ้นดี ในขณะที่ลาได้แต่มองดูการกระทำของเจ้าลิงอยู่เฉย ๆ สักครู่หนึ่ง หญิงชาวบ้านคนนี้ก็กลับมาจากตลาด เจ้าลิงมองเห็นเจ้าของเดินมาแต่ไกลจากทางหน้าต่าง ก็รีบเอาเชือกมาผูกคอตนไว้ อย่างเดิมและอยู่อย่างสงบนิ่ง

ฝ่ายหญิงชาวบ้านเมื่อเปิดประตูกระท่อมเข้ามาเห็นข้าวของของตนถูกรื้อค้น กระจุยกระจายเช่นนั้นก็เกิดโทสะขึ้นทันที หันมองลิงและลา เพื่อดูว่าใครเป็นผู้ก่อเรื่อง และเห็นว่าลาไม่มีเชือกผูกขาดังเดิม เธอก็คิดเอาเองว่าเจ้าลานี่เองคือตัวปัญหา ทำให้กระท่อมของเธอมีสภาพไม่ต่างจากโรงเก็บขยะ


ดังนั้นหญิงชาวบ้านจึงวิ่งไปหยิบท่อนไม้นอกบ้านมาทุบตีลาอย่างรุนแรง ซึ่งเจ้าลาผู้น่าสงสารก็ได้แต่ส่งเสียงร้องด้วยความเจ็บปวดจนสิ้นใจโดยไม่สามารถทำอะไรได้เลย
เธอทั้งหลาย... เธอหลายคนคงไม่ค่อยชอบตอนจบของนิทานเรื่องนี้นัก เพราะสงสารเจ้าลาที่ไม่ได้ทำความผิดอะไรแต่กลับถูกเจ้าของทำโทษจนตาย ส่วนเจ้าลิงซึ่งเป็นต้นเหตุแท้ๆ กลับรอดพ้น และไม่ได้รับผลกรรมใดๆ แต่แท้ที่จริงแล้วนิทานเรื่องนี้ต้องการชี้ให้เห็นถึง ความเป็นผู้นำของหญิงชาวบ้าน
ที่ไม่พิจารณาเหตุการณ์ให้ถ่องแท้ เชื่อแค่สิ่งที่ตนเห็นแล้วลงโทษไปตามความรู้สึกและประสพการณ์ส่วนตัว เธอมองเห็นข้าวของเสียหาย และมองเห็นลาที่หลุดออกมาจากเชือก แล้วตัดสินว่าลาคงเป็นผู้กระทำ แต่ไม่ได้มองว่าลาไม่มีปัญญาจะแก้เชือก และไม่มีนิสัยชอบรื้อทำลาย เธอมองเห็นลิงยังถูกเชือกล่ามอยู่ก็คิดว่าลิงคงไม่ใช่ผู้กระทำ แต่มองไม่ออกว่าผู้น่าจะแก้ปมเชือกได้และมีนิสัยชอบรื้อทำลายนั้นคือลิง ความจริงถ้าเธอรู้จักสำรวจ
ร่องรอยความเสียหายเสียสักเล็กน้อย เธอก็จะพบรอยเท้าและฟันของลิงกระจายไปทั่วห้อง แต่ไม่พบรอยเท้าของลาเลย เพราะลาไม่ได้เคลื่อนที่ไปไหน