วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Friday the 13th

A black cat
Will cross your path.
You will break a mirror.
You will step on sidewalk cracks
Making your mother land on her rear.
You favorite pet will run away.
Godzilla and King Kong will eat your car.
If you think it's going to be your lucky day,
Just remember where you are

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันชาติสหรัฐอเมริกา

วันชาติสหรัฐอเมริกา





วันฉลองอิสรภาพ สหรัฐอเมริกา 4 ก.ค. ในฤดูร้อนของปี ค.ศ.1776 ผู้แทนของอาณานิคมอังกฤษทั้ง13 แห่ง ในอเมริกาเหนือได้มารวมกันที่เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพลซิลเวเนีย เพื่อหารืออภิปรายกันในข้อเสนอที่อาจหาญว่า "อาณานิคมที่ผนึกเข้าด้วยกันนี้ล้วนแต่เป็นรัฐอิสระและเป็นเอกราช แล้ว โดยสิทธิก็ควรจะเป็นเช่นนั้น" ในขณะที่ผู้แทนจากอาณานิคม กำลังประชุมเพื่อพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวอยู่นั้น คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 5 คนนำโดย โธมัส เจฟเฟอร์สัน ได้เอกสารขึ้นฉบับหนึ่งซึ่งเรียกกันในเวลาต่อมาว่า "คำประกาศอิสระภาพ" 

ในการประกาศให้ชาวโลกได้ทราบถึงการประกาศตนเป็นเอกราชนั้น คำประกาศได้วางหลักการและเหตุผลในการก่อตั้งประเทศใหม่ว่า "เราถือว่าความจริงต่อไปนี้มีความหมายประจักษ์ชัดในตัวเอง คือ มนุษย์ทุกคนล้วนถือกำเนิดเกิดมาเท่าเทียมกัน และต่างได้รับสิทธิบางประการที่อาจมอบโอนกันได้จากประทานของผู้สร้าง ซึ่งในบรรดาสิทธิเหล่านี้มีสิทธิในชีวิตเสรีภาพ และการแสวงหาความสุขเป็นอาทิ" บรรดาผู้เข้าร่วมการประชุมที่ฟิลาเดลเฟียได้ออกเสียงลงมติเห็นชอบกับคำประกาศอิสรภาพ ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1776 วันดังกล่าวจึงถือว่าเป็นวันกำเนิดอย่างเป็นทางการของสหรัฐอเมริกานับแต่นั้นเป็นต้นมา

งานเฉลิมฉลองที่จัดขึ้นกันเองโดยมิได้วางแผนหรือนัดหมายกันมาก่อนได้มีขึ้นเป็นครั้งแรกในวันครบรอบของปีถัดมา ในฟิลลาเดลเฟียชาวเมืองเฉลิมฉลองกันด้วย การเคาะระฆัง เล่นรอบกองไฟและจุดดอกไม้ไฟ เรือที่ทอดสมออยู่ที่ท่ายิงสลุต 13 นัด ประชาชนจุดประทีปโคมไฟโดยใช้เทียนประดับตกแต่งไว้ตามหน้าต่างให้บ้านเรือนของตนสว่างไสว พอถึงปีค.ศ. 1810 เมืองใหญ่ๆของสหรัฐอเมริกาทั้งหมดต่างก็จัดงานเฉลิมฉลองกันอย่างมีพิธืรีตองอันเป็นประเพณีที่ปฎิบัติสืบต่อกันมาตราบเท่าทุกวันนี้ แม้ว่าหลายพื้นที่จะเอาประเพณีท้องถิ่นของตนเข้าไปผสมผสานด้วย แต่รูปแบบของการสนุกสนานรื่นเริงในการเฉลิมฉลองวันชาติทั่วสหรัฐ ที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ การเดินพาเหรด การแสดงของวงดนตรี การแข่งกีฬา การไปปิกนิกและการจุดดอกไม้ไฟ ทุกหนแห่ง นับตั้งแต่เมืองเล็กๆ ชุมชนการเกษตร ไปถึงนครใหญ่ๆ

ชาวอเมริกันจะประดับประดาธงชาติของตนด้วยความภาคภูมิใจในการเฉลิมฉลองเสรีภาพและประชาธิปไตย ซึ่งถือเป็นมรดกของชาติร่วมกัน ด้านประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐเมริกาคนที่43 ได้มีแถลงการณ์เนื่องในโอกาสวันฉลองอิสรภาพ 4 ก.ค. โดยส่งความปรารถนาดีแด่ชาวอเมริกัน เรียกร้องให้ชาวอเมริกันผนึกกำลังเพื่อความเป็นเอกภาพแห่งชาติและชื่นชมในสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา ไม่ว่าจะเป็นความซื่อสัตย์ ความรักต่อครอบครัว มิตรสหายและเสรีภาพ

จากประวัติศาสตร์ของประเทศที่เกิดขึ้นมาช้านาน ชาวอเมริกันพยายามอย่างยิ่งยวดในอันที่จะสร้างประเทศที่ให้เสรีภาพ สันติภาพ และโอกาสแด่ทุกคน ขณะเดียวกันเราก็พยายาม ที่จะผลักดันเมฆหมอกแห่งความเลวร้ายให้ออกไปจากประเทศของเรา และประชาคมโลก ซึ่งเราขอยืนยันว่าจะสานต่อเจตนารมณ์แห่งบรรพบุรุษที่ได้สร้างไว้คือ มรดกแห่งอิสรภาพ นอกจากนั้น เรายังขอยกย่องหทารหาญ ซึ่งได้อุทิศตัวเพื่อปกป้องประเทศชาติไว้

สหรัฐอเมริกาและประเทศไทยเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกันมาเป็นเวลา 169 ปีแล้ว และประชาคมระหว่างประเทศยังคงแนบแน่นเช่นเคย ชาวอเมริกันให้ความสำคัญกับการเดินทางไปเยือนสหรัฐเมื่อปีที่แล้วของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นอย่างมากและได้มีความคืบหน้าในการเจรจาทางการเมือง เศรษฐกิจ และความมั่นคงความผูกพันทางวัฒนธรรมของชาวไทยและอเมริกันยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆคนไทยหลายพันคนที่ได้เข้ามาในประเทศไทยเพื่อทำธุรกิจ ศึกษาเล่าเรียน และเยี่ยมชมประเทศ หรือเข้ามารับใช้ร่วมกับโครงการ Peace Corps อย่างที่ข้าพเจ้าได้เข้ามาเมื่อกว่า40ปีที่แล้ว ในตอนนั้น ข้าพเจ้าเป็นครูสอนภาษาอังกฤษอยู่ที่จังหวัดลำพูน ข้าพเจ้ารู้สึกภาคภูมิใจเป็ฯอย่างยิ่งในการกลับมายังประเทศไทยในฐานะฑูตสหรัฐอเมริก าและได้เห็นว่ามิตรภาพของเรานั้นได้เจริญเติบโตยิ่งขึ้น มิตรภาพดังกล่าวเพิ่มพูนขึ้นภายหลังการก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 ก.ย.ในนครนิวยอร์กและ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชทานสาสน์ถึงประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช แสดงความเสียพระทัยต่อเหตุการณ์ดังกล่าว และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีก็ได้ส่งสารแสดงความเสียใจในนามของรัฐบาลไทยด้วย
ข้อความในพระราชสาสน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสะท้อนถึงความสนับสนุนแก่นานาชาติ ในการนำเสรีภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาสู่ประชาชน ชาวอัฟกานิสถาน


ไทยยังได้ร่วมมือกับสหรัฐในอีกหลายๆด้านเพื่อต่อสู้กับการก่อการร้ายระหว่างประเทศ สหรัฐยินดีที่มีไทยเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งในการทำสงครามกับก่อการร้าย สารจาก นายแดร์ริล เอ็น. จอห์นสัน เอกอัครราชฑูตสหรัฐประจำประเทศไทย เนื่องในโอกาสวันที่ 4 ก.ค.ว่า วันที่4 ก.ค.นี้จะเป็นวันครบรอบ 226 ปี ที่บรรพบุรุษของเรา ได้ลงนามประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา ข้าพเจ้ามีความยินดีที่จะร่วมฉลองในโอกาสนี้กับประชาชนชาวไทย และกับชาติอื่นๆในประเทศไทย วันที่ 4 ก.ค. นี้เป็นวันที่ชาวอเมริกันร่วมเฉลิมฉลองและรำลึกถึงหลักการแห่งประชาธิปไตยและเสรีภาพ ซึ่งเป็นหลักการที่ผู้คนนับล้านๆ คนทั่วโลกยึดถือ และปีนี้ถือเป็นปีสำคัญ เป็นพิเศษในการเฉลิมฉลองเสรีภาพและประชาธิปไตยในประเทศไทย เมื่อพ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นเวลา 70 ปีมาแล้ว ที่ชาวไทย ได้เปลี่ยนระบอบประชาธิปไตย ในช่วงเจ็ดทศวรรษที่ผ่านมา ประชาธิปไตยเป็นค่านิยมประการหนึ่งที่ประชาชนของเรายึดถือร่วมกันมา

ประวัติ นายแดร์ริล เอ็น. จอห์นสัน เอกอัครราชฑูตสหรัฐประจำประเทศไทย นายจอห์นสัน สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2544 และเริ่มปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวเมื่อ วันที่ 27 ธ.ค. 2544 ก่อนหน้านี้ เอกอัครราชทูตจอห์นสัน เคยดำรงตำแหน่ง รองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก โดยรับผิดชอบเรื่องที่เกี่ยวกับจีนและมองโกเลีย ก่อนเข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ

ในปี พ.ศ.2508 นายจอห์นสัน เคยเป็นอาสาสมัครของหน่วยสันติภาพของสหรัฐ ( Peace Corps ) ในประเทศไทย
โดยเป็นครูสอนภาษาที่จังหวัดลำพูน นายจอห์นสัน เป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ปฎบัติราชการในต่างประเทศ มาแล้วหลายประเทศเช่นที่ อินเดีย,ฮ่องกง,รัสเซีย,โปแลนด์ และลิธัวเนีย นายจอห์นสัน จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) จาก University of Washington และเคยศึกษาที่ University of Puget Sound, University of Minnesota และ Princeton University เขาได้รับการคัดเลือกเป็นหนึ่งในสมาชิก สมาคม Phi Beta Kappa ซึ่งเป็นสมาคมของนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเยี่ยม และได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกสมาคมอื่นๆที่เกี่ยวกับการศึกษาทางทหาร ดนตรี และวรรณคดี นายจอห์นสันสามารถพูด ภาษาไทย ภาษจีนกลาง ภาษารัสเซีย ภาษาโปแลนด์ ได้ดี และสามารถพูด ภาษาลิธัวเนียได้เล็กน้อย นายจอห์นสันสมรสกับนางแคธลีน เดซาฟอรานซ์ และมีบุตรสาวหนึ่งคนคือ ดาราวรรณ (เกิดในประเทศไทย) บุตรชายฝาแฝดสองคน คือ ลอเร็นและเกรกอรี (เกิดที่อินเดีย) และมีหลาน 2 คน นายจอห์นสันมีถิ่นพำนักอยู่ที่เมือง ซีแอ็ตเติล รัฐวอชิงตัน