วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

Easter

วันอีสเตอร์ คือวันระลึกถึงวันเป็นขึ้นมาจากความตาย ขององค์พระเยซูคริสต์ ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ คำว่า "อีสเตอร์ " ที่นำมาใช้สำหรับการฉลองนั้นมาจากคำว่า "EOSTRE" ซึ่งเป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งฤดูใบไม้ผลิตของพวกทูโทนิค เป็นเทพเจ้าแห่งการฟื้นคืนชีพ เพราะก่อนถึงฤดูนี้ ต้นไม้ ใบหญ้า ดอกร่วงหล่นเหลือแต่ซาก พอถึงฤดูใบไม้ผลิมันจะกลับผลิดอกออกใบมีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่ง ฉะนั้นฤดูใบไม้ผลิ จึงถูกนำมาเปรียบกับการเป็นขึ้นมาจากความตาย ของพระเยซูด้วย จึงเรียกวันนี้ว่า "อีสเตอร์"

สมัยก่อน คริสตจักรต่างๆ จัดฉลองวันอีสเตอร์ในวันอาทิตย์ที่ไม่ตรงกัน จนถึงปี ค.ศ.325 สภาไนเซียหรือสภาผู้นำคริสตจักรทั่วโลกได้ประชุม และมีมติให้กำหนดแน่นอน ให้คริสตจักรทั่วโลกฉลองเทศกาลอีสเตอร์ให้ตรงกัน โดยกำหนดวันอีสเตอร์คำนวนตามระบบจันทรคติ ทั้งนี้เนื่องจากต้องการให้การฉลองวันที่พระเยซูเป็นขึ้นมาจากความตาย ตรงกับเหตุการณ์ในครั้งแรกจริงๆ

วันอีสเตอร์ ( วันเฉลิมฉลองการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ ) คือวันไหนของปีกันแน่ ?
เนื่องจากในแต่ล่ะปี กาเฉลิมฉลองวันอีสเตอร์ของคริสเตียนนั้นจะไม่ตรงกันซึ่งแตกต่างกันกับวันคริสมาสอย่างสิ้นเชิง ซึ่งจะเฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเหตุผลที่ทำให้การเฉลิมฉลองวันอีสเตอร์ในแต่ล่ะปีไม่ตรงกันนั้น คงเป็นเหตุเพราะเนื่องจากว่า ในพระคัมภีร์ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์นั้น ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดนั่นเอง
สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์นั้น ได้เกิดขึ้น ในอาทิตย์เดียวกันกับ อาทิตย์ที่ชาวยิวจะเฉลิมฉลองปัสกา ในเดือนไนซานนั่นเอง ดังนั้นวีธีการคำนวนวันอีสเตอร์ของคริสเตียน จึงอิงกับการคำนวนวันเฉลิมฉลองเทศกาลปัสกาของชาวยิวนั่นเอง


แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า วันอีสเตอร์แต่ล่ะปี คือวันไหน??
การคำนวนง่าย ๆ คือ
1.นำปีปัจจุบัน + 1 เช่น 2005 + 1 จะเท่ากับ 2006
2.นำผลลัพธ์นั้น หารด้วย 19 จะได้เศษ 0 - 18
3. นำเศษ 0 - 18 มาเทียบกับวัน
คำว่า “อีสเตอร์” นี้ไม่มีอยู่ในพระคัมภีร์ แต่เรื่องราวความหมายและความสำคัญของคำๆนี้ ปรากฎชัดอยู่มากมายในพระคัมภีร์ คำว่า “อีสเตอร์” ที่ถูกนำมาใช้เรียก “เทศกาลเฉลิมฉลองการที่พระเยซูคริสต์ทรงเป็นขึ้นจากความตาย” นี้ได้มาจากนามของ “เทวี หรือพระแม่เจ้าแห่งฤดูใบไม้ผลิ” ของพวกแองโกล-แซกซอน ที่มีนามว่า “Eastre” เข้าใจว่าการฉลองการเป็นขึ้นมาจากความตายหรือการคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์นั้นมาเกี่ยวข้องกับฤดูใบไม้ผลิ เพราะ
1. วันอีสเตอร์ อยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (ระหว่างเดือนมีนาคม และ เมษายน)
2. ฤดูใบไม้ผลิ เป็นสัญญลักษณ์ของชีวิตใหม่ เพราะต้นไม้ใบหญ้าที่ดูเหมือนตายไปแล้วในฤดูหนาวกลับผลิใบออกดอกดุจเกิดใหม่ นับเป็นภาพที่เหมาะสมกับการพรรณนาถึงการคืนพระชนม์ของพระคริสต์
แต่ตัวเทศกาลนี้ จริงๆแล้วได้พัฒนามาจากเทศกาล “ปัสกา” (Passover) ของยิว ช่วงสุดท้ายของชีวิตพระเยซูคริสต์ก็อยู่ในช่วงเทศกาลปัสกาดังกล่าว เทศกาลปัสกา(Passover) เป็นเทศกาลที่ชาวยิวระลึกถึงการที่พระเจ้าทรงนำพวกเขาออกมาจากการเป็นทาสในอียิปต์ เมื่อฟาโรห์ปฏิเสธที่จะปล่อยชาวอิสราเอล พระเจ้าให้ทูตมรณะเข้าไปในครัวเรือนของอียิปต์และปลิดชีพบุตรหัวปียกเว้นบ้านของชาวยิวที่นำโลหิตของแกะมาทาที่ประตูบ้านทูตมรณะจะผ่านเว้นไป
ดั้งเดิมแล้ว วันอีสเตอร์ ได้ถือปฏิบัติกันในวันปัสกา (วันที่ 14 เดือนนิสาน) จนกระทั่งในกลางศตวรรษที่ 2 คริสเตียนบางกลุ่มเริ่มเฉลิมฉลองวันอีสเตอร์นั้น ในวันอาทิตย์หลังจากวันที่ 14 เดือนนิสาน โดยถือเอาวันศุกร์ก่อนหน้าเป็นวันที่พระเยซูคริสต์ถูกตรึงสิ้นพระชนม์ สุดท้ายก็เกิดการโต้เถียงในเรื่องวันที่ถูกต้องในการฉลองอีสเตอร์
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 197 วิคเตอร์ แห่งโรม ได้บีบพวกคริสเตียนที่ยังยืนกรานที่จะฉลองอีสเตอร์ในวันที่ 14 เดือนนิสาน ให้ออกไปจากหมู่คณะ แต่การถกเถียงยังคงดำเนินอยู่ต่อไป จนกระทั่งมาถึงต้นศตวรรษที่ 4 จักรพรรดิ คอนสแตนติน ทรงบัญชาให้ถือรักษาวันอีสเตอร์เป็นวันอาทิตย์ หลังวันที่ 14 เดือนนิสาน แทนการฉลองในวันที่ 14 เดือนนิสานเหมือนที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม

ด้วยเหตุนี้เอง วันอีสเตอร์จึงได้รับการเฉลิมฉลองในวันอาทิตย์แรกหลังจากคืนวันเพ็ญแรก ที่ตามหลังวัน “วสันตวิษุสวัต” (Vernal equinox) ซึ่งเป็น “วันที่กลางวันเท่ากับกลางคืน” ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม พูดง่ายๆก็คือจากวันนี้มาจนถึงวันนี้ วันอีสเตอร์จะต้องมาหลังจากวันที่ 21 มีนาคมของทุกปีซึ่ง ต่อมาในปี คศ.320 คริสตศาสนจักรได้ประกาศให้วันของอีสเตอร์ คือวันอาทิตย์แรกหลังวันเพ็ญใกล้ฤดูใบไม้ผลิ (ต่อมาเป็นวันที่ 21 มีค.) ซึ่งจะตรงกับวันอาทิตย์ใกล้วันปัสกา (วันที่14 เดือนนิสาน) ซึ่งจะอยู่ช่วงระหว่างวันที่ 21 มีค.-25 เมย.ของทุกปี
จึงสรุปได้ว่า เมื่อตอนเริ่มแรกนั้น อีสเตอร์ เป็นงานเลี้ยงเฉลิมฉลองที่ผูกพันใกล้ชิดกับวันปัสกา ซึ่งเตือนให้ระลึกถึงเหตุการณ์ที่พระเจ้าทรงนำชาวอิสราเอล ให้อพยพรอดออกมาจากการเป็นทาสในอียิปต์ และเหตุการณ์ที่พระเยซูคริสต์ทรงถูกตรึงตายไถ่ผู้ศรัทธาในพระองค์ให้รอดพ้นจากโทษบาป จนกระทั่งในศตวรรษที่ 4 อีสเตอร์ จึงแยกออกมาเป็นการเฉลิงฉลองเพื่อระลึกถึง “การเป็นขึ้นมาจากความตายของพระเยซูคริสต์” หลังจากที่พระองค์ทรงถูกตรึงบนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาปของมนุษย์และการฉลองนี้จะอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่เคยเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองฤดูใบไม้ผลิของชาวยุโรป

สัญลักษณ์ของวันอีสเตอร์
สัญลักษณ์ของวันอีสเตอร์ นั้นได้แก่สิ่งที่สื่อถึงความสุข สมหวัง ชัยชนะ ความอบอุ่น ความสดใส

ไข่ สื่อถึงชีวิตใหม่ ไข่ ถือเป็นสัญลักษณ์ของการบังเกิดใหม่หรือมีชีวิตใหม่ กางเขนและอุโมงค์ที่ว่างเปล่า เป็นสัญลักษณ์ของการเป็นขึ้นมาจากความตายของพระเยซูคริสต์ มีคนกล่าวว่าคริสเตียนแท้มักจะดำเนินชีวิตโดยยึดหลักการที่ว่า พระเยซูคริสต์ได้สิ้นพระชนม์ในวันศุกร์ประเสริฐเพื่อเราเมื่อวานนี้ และทรงเป็นขึ้นมาจากความตายในวันอาทิตย์อีสเตอร์ และทรงสถิตอยู่กับเราในวันนี้ และพระองค์จะทรงเสด็จกลับมารับเรา (ผู้เชื่อ) ในวันพรุ่งนี้

ผีเสื้อ สื่อถึงชีวิตใหม่ เหมือนผีเสื้อที่ออกมาจากดักแด้และบินสู่ท้องฟ้าเช่นเดียวกับ พระเยซูคริสต์ที่สิ้นพระชนม์ และอยู่ในอุโมงค์ หลังจากนั้น 3 วัน จึงฟื้นคืนพระชนม์

กระต่าย สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ เป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิ

สวนดอกไม้ สื่อความหมายถึง ความสุขสมหวัง ดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของวันอีสเตอร์ คือดอกลิลี่ หรือดอกพลับพลึงขาวบริสุทธิ์

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554

เดินอย่างไรให้สง่างามและถูกสุขลักษณะ

คงเคยได้ยินใช่ไหมคะว่า “การเดิน” เป็นการออกกำลังกายที่ง่ายและพื้นฐานที่สุด เรียกว่าทำได้ตั้งแต่ลุกขึ้นจากเก้าอี้เลยทีเดียว เพียงแค่ก้าวขาหนึ่งไปข้างหน้าตามองตรงไม่ให้เผลอเดินตกหลุมก็ได้ออกกำลังกายแล้ว ง่ายดีไหมคะ แต่อย่าเพิ่งย่ามใจไปค่ะเพราะทุกครั้งที่คุณก้าวเท้าไปข้างหน้าเพื่อเดิน คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าท่าเดินของเราถูกสุขลักษณะเพียงพอที่จะทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงและไม่เจ็บป่วยจากท่าเดินที่ไม่ถูกต้อง

คุณเคน แมทท์สัน โค้ชการเดินเพื่อสุขภาพจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์กล่าวว่า “คนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่าท่าเดินของตนเองทำให้สุขภาพแย่ลง บางคนเดินขย่มเสียเกินงาม หรือบางคนแกว่งแขนมากเกินไป ฟังดูเหมือนมันไม่น่าจะเป็นปัญหาเพราะก็เดินแบบนี้มาแต่ไหนแต่ไรแต่ในระยะยาวจะเกิดผลเสียได้” ดังนั้นเราลองมาเดินอย่างสง่างามและถูกสุขลักษณะเพื่อสุขภาพที่ดีโดยเรียนรู้จากความผิดพลาดที่พบบ่อยๆ ในท่าเดินของเราดีกว่าค่ะ

ความผิดพลาดหมายเลข 1: ท่าเดินไม่ถูกต้อง

หลายคนปวดเมื่อยจากการเดินเพราะเดินแล้วไม่ยืดหลังตรงนั่นเอง ท่าเดินที่ไม่ถูกต้องนี้ออกมา 2 รูปแบบหลักๆ คือเดินหลังค่อมและศีรษะโน้มไปด้านหน้า, และไปทางตรงข้ามซึ่งก็คือเดินเอนหลังมากเกินไป การเอนหลังมากเกินไปขณะเดินทำให้ร่างการเสียความสมดุลและส่งแรงกดไปที่บั้นเอวมากเกินจนปวดได้

วิธีแก้ไข
อย่ามองพื้นเวลาเดิน...อย่ามองฟ้าด้วยค่ะ ให้เดินหลังตรง ยืดศีรษะให้สูง ลำคอจะยืดระหงขึ้นเองและทำให้กระดูกสันหลังยืดตรงและรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น อย่ากดคางลงไปที่คอนะคะ ควรยืดคางขึ้นเพื่อให้ดวงตามองตรงไปด้านหน้าห่างไปประมาณ 3-10 เมตร สังเกตว่าไหล่ต้องรู้สึกผ่อนคลาย หน้าท้องแบนราบลง วิธีเช็คว่าไหล่ตึงเกินไปหรือเปล่าคือลองสูดหายใจเข้าลึกๆ และออกแรงๆ ทุก 5 นาทีที่เดิน ถ้าไหล่ของเราต่ำลงกว่าตำแหน่งเดิมมากตอนหายใจออกแสดงว่าเราเกร็งไหล่มากเกินไปขณะเดิน พยายามเช็คท่าเดินเป็นระยะเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเดินท่าที่ผิดอีกนะคะ

ความผิดพลาดหมายเลข 2: เดินป้อแป้เกินไปแล้ว

การเดินที่แกว่งแขนตีวงกว้างเกินไป, ก้าวยาวเกินไป, และกระแทกน้ำหนักที่เท้ามากเกินไป เป็นท่าเดินที่อันตรายต่อหน้าแข้งของเราอย่างมากเลยค่ะ

วิธีแก้ไข
อย่างแรกคือหนีบแขนให้เข้ามาชิดลำตัวมากขึ้น แขนเราต้องแกว่งไปด้านหน้าและหลังยามเดินแต่ไม่จำเป็นต้องแกว่งตีวงเหมือนเดินสวนสนาม วิธีแก้ไขง่ายๆ คือลองงอแขน 90 องศาและหนีบข้อศอกให้ใกล้ลำตัวเข้าไว้ ท่าแกว่งจะดีขึ้นเอง
ต่อมาคือแก้ปัญหาก้าวยาวๆ หลายคนเชื่อว่าการก้าวขาให้ยาวที่สุดจะทำให้เดินเร็วขึ้นแต่เป็นการเข้าใจผิดค่ะ ยิ่งก้าวขายาวเท่าไร ส้นเท้าจะยิ่งห่างจากด้านหน้าลำตัวมากขึ้นซึ่งทำให้ไม่สามารถส่งแรงเพื่อก้าวไปข้างหน้าได้เพียงพอ ยิ่งก้าวยาวเท้าที่ก้าวออกไปก็จะทำตัวเหมือนเบรคที่หยุดจังหวะการเดินเป็นช่วงๆ วิธีแก้คือต้องวัดความยาวก้าวเดินด้วยการลองยืนตรงแล้วก้าวเท้าหนึ่งไปด้านหน้าในระยะที่ส้นเท้าแตะพื้นไม่ได้ เสร็จแล้วค่อยๆ ลองเดินด้วยความยาวก้าวประมาณนี้ไปเรื่อยๆ

ความผิดพลาดหมายเลข 3: เดินหอบพะรุงพะรัง

หลายคนเข้าใจว่าการเดินโดยถืออะไรสักอย่างไว้ในมือ เช่น เวทน้ำหนักหรือขวดน้ำ จะช่วยให้เผาผลาญพลังงานได้ดีขึ้นขณะเดิน ความคิดนี้ไม่ได้ผิดเสียทีเดียวเพียงแต่การเดินถือของหนักๆ แบบนี้อาจทำให้กล้ามเนื้อไหล่และแขนบาดเจ็บได้ วิธีที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับการเดินและเผาผลาญแคลอรี่เพิ่มขึ้นคือใส่บรรดาของหนักไว้ในเป้แล้วสะพายหลังเสีย ไม่อย่างนั้นก็ใส่เสื้อกั๊กที่มีตุ้มน้ำหนักติดอยู่ไปเสียเลย

ความผิดพลาดหมายเลข 4: ออกตัวและหยุดเร็ว

หลายคนรีบเร่งเสียจนต้องก้าวเดินและหยุดอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการวอร์มอัพตอนออกตัวหรือค่อยๆ ผ่อนก้าวก่อนหยุด การออกตัวเดินอย่างรวดเร็วมีความเสี่ยงที่ทำให้กล้ามเนื้อในร่างกายบาดเจ็บในระหว่างที่การหยุดกะทันหันอาจทำให้รู้สึกวิงเวียนขึ้นมาได้ วิธีแก้ไขก็เพียงแต่ออกเดินอย่างช้าๆ โดย 5 นาทีแรกของการเดินให้ก้าวอย่างช้าๆ เสียก่อนแล้วจึงค่อยๆ เพิ่มความเร็วขึ้น เมื่อใกล้ถึงจุดหมายปลายทางประมาณ 5-10 นาทีให้ก้าวช้าลงเป็นการปรับการเต้นของหัวใจให้ช้าลงและปรับปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกายให้พอดี การหยุดกะทันหันทำให้เลือดกองอยู่ที่ขาไม่ไหลย้อนไปที่ศีรษะจึงเกิดอาการมึนงงขึ้น

ความผิดพลาดหมายเลข 5: ขี้เกียจเดินอ้อม

ยิ่งเราเดินตามทางเดิมบ่อยมากขึ้นเมื่อไหร่ นอกจากจะห็นทิวทัศน์เดิมจนเบื่อแล้ว หลายคนพยายามหาทางเดินให้ลัดและสั้นที่สุดเพื่อจะได้ถึงจุดหมายเร็วขึ้นทำให้ออกกำลังกายลดลงไปด้วย วิธีแก้ไขคือลองเปลี่ยนเส้นทางเดินเพื่อให้เห็นทิวทัศน์ที่แตกต่างออกไปบ้างค่ะ ลองผ่านสวนที่มีต้นไม้ร่มรื่น หรือเดินขึ้นเนินเตี้ยๆ ให้เราได้ออกกำลังขาบ้าง ถ้าอยากออกกำลังกายไปด้วยอาจลองก้าวเดินเร็วๆ ดูสัก 30 วินาทีแล้วตามด้วยช้าลงมาที่จังหวะปกติอีก 90 วินาที ทำอย่างนี้ 2-3 รอบก็ช่วยให้ร่างกายได้ออกกำลังมากขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม อย่าขยันเดินเกินไปนะคะเพราะหากเดินแบบนี้ทุกวันร่างกายคงรับไม่ไหวแน่ ให้เวลาร่างกายพัก 1-2 วันต่อสัปดาห์ เปลี่ยนไปลองขี่จักรยานชมวิวดูบ้างน่าจะทำให้ผ่อนคลายมากขึ้นค่ะ

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

Amish



The Amish, are a group of Christian church fellowships that form a subgroup of the Mennonite churches. The Amish are known for simple living, plain dress, and reluctance to adopt many conveniences of modern technology.

The history of the Amish church began with a schism in Switzerland within a group of Swiss and Alsatian Anabaptists in 1693 led by Jakob Ammann.[2] Those who followed Ammann became known as Amish.[3] These followers were originally from three main places: the German-speaking parts of Switzerland, Alsace (now part of France), and the Palatinate of Germany. In the early 18th century, many Amish and Mennonites immigrated to Pennsylvania for a variety of reasons. Today, the most traditional descendants of the Amish continue to speak Pennsylvania German, also known as Pennsylvania Dutch. However, a dialect of Swiss German predominates in some Old Order Amish communities, especially in the American state of Indiana.[4] As of 2000, over 165,000 Old Order Amish live in Canada and the United States. A 2008 study suggested their numbers have increased to 227,000,[5] and in 2010 a new study suggested their population had grown by 10% in the past two years to 249,000, with increasing movement to the West.

Amish church membership begins with baptism, usually between the ages of 16 and 25. It is a requirement for marriage, and once a person has affiliated with the church, he or she may only marry within the faith. Church districts average between 20 and 40 families, and worship services are held every other Sunday in a member's home. The district is led by a bishop and several ministers and deacons.

The rules of the church, the Ordnung, must be observed by every member. These rules cover most aspects of day-to-day living, and include prohibitions or limitations on the use of power-line electricity, telephones and automobiles, as well as regulations on clothing. Many Amish church members may not buy insurance or accept government assistance such as Social Security. As Anabaptists, Amish church members practice nonresistance and will not perform any type of military service. Members who do not conform to these expectations and who cannot be convinced to repent are excommunicated. In addition to excommunication, members may be shunned, a practice that limits social contacts to shame the wayward member into returning to the church. During adolescence (rumspringa or "running around" in some communities), nonconforming behavior that would result in the shunning of an adult who had made the permanent commitment of baptism may meet with a degree of forbearance.

Amish church groups seek to maintain a degree of separation from the non-Amish world. There is generally a heavy emphasis on church and family relationships. They typically operate their own one-room schools and discontinue formal education at grade eight. They value rural life, manual labor and humility. Due to a smaller gene pool, some groups have increased incidences of certain inheritable conditions